สรุปคอร์ส Productivity Masterclass มาเป็น Productivity Master Canvas Ver. เกือบ 1 ให้ลองใช้กัน

Peesamac
5 min readSep 3, 2021

ผมเพิ่งเรียนคอร์ส Productivity Masterclass — Principles and Tools to Boost Your Productivity โดย Ali Abdaal ใน Skillshare จบเลยอยากจะมาสร้าง Output ให้ตัวเอง โดยการสรุปให้ทุกคนอ่านกัน

ผมจะแบ่งเป็น 2 Part ได้แก่
1. Part สรุปบทเรียนที่ได้เรียนมา สั้นๆ ไม่ยาว สัญญา
2. Part คิดต่อว่าเนื้อหาที่มากมาย ถ้าผมจะไปใช้ จะเอาไปใช้อย่างไรบ้าง

ใครคือ Ali Abdaal

คุณ Ali Abdaal เนี่ย ผมรู้จักเค้าจากน้องกัน ผู้ก่อตั้ง Notion Community Thailand น้องคนนึงที่ชื่นชอบวิธีการหาแนวทาง Productive ใหม่ๆ มาใส่ชีวิต แล้วมาบอกว่า พี่ต้องดูคนนี้ พอกดเข้าไปดูนายคนนี้ก็โด่งดังเป็นพลุแตกใน YouTube พอกดเข้าไปดูก็เข้าใจแล้วว่าทำไมดัง ปัจจุบันมีคน Follow 2M เป็นหมอจบจากเคมบริดจ์ ตอนนี้ทำงานเป็นหมออยู่ เมื่อเป็นหมอ งานก็หนัก แต่ก็สามารถเรียนเล่นเปียโน ทำคลิปยูทูป เขียนบทความเป็น newsletter ทุกสัปดาห์ ที่มีคนรออ่านเป็นแสน ทำ Podcast ทุกสองสัปดาห์กับญาติ แค่นี้ก็พอจะสร้างเครดิตให้แล้วว่าคุณ Ali เนี่ย ชีวิตต้อง Productive แค่ไหน ถึงทำทั้งหมดนั้นได้ แต่ความเท่และเจ๋งของเค้าคนนี้ก็คือการย่อยหนังสือ แนวคิด Productive เล่มดังๆ มาสรุปและเล่าให้ฟังอย่างง่าย เข้าใจ จัดแสงสวย อุปกรณ์ดี เอาเป็นว่าน่าฟังมาก ดังนั้นไม่แปลกที่เค้าคนนี้จะมีคนติดตามมหาศาล

Skillshare : Platform เติม Skill สั้นๆ ใช้ได้จริง

Skillshare เป็นคอร์สเรียนออนไลน์ แบบเดียวกับ Coursera , Udemy แต่ความ Positioning ของตัวเอง เป็นการเรียนทักษะแบบย่อยง่าย ไม่เกินชั่วโมง เรียนเสร็จต้องมี Practice ใช้ได้จริงเลย และมีกลยุทธ์ลุยตลาดคือการเอาเซเลปออนไลน์เช่น Youtuber หลายๆ เจ้ามาสอน คุณ Ali ก็เลยมาทำคอร์สสอนไว้เหมือนกัน ตอนนี้มีนักเรียนประมาณ 60k ที่ Follow อยู่ คิดว่าน่าจะเป็นการสรุป Content ต่างๆ จาก YouTube แบบจัดเรียงมาให้เข้าใจง่าย

1. Part สรุปบทเรียนที่ได้เรียนมา

ในคอร์สนี้ ผู้สอนพยายามจะอธิบาย Concept ของ Productive ผ่าน 1 สมการ และแผนภาพ 1 รูป และแตกประเด็นจาก 1+1 นี้ให้กลายเป็น สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความ Productive ดังนี้

ความเข้าใจผิด 3 อย่าง
กฎ 3 ข้อ
พลัง 3 แบบ
การสร้าง Fun Factor

เมื่อ Structure ของคอร์สนี้เข้าใจง่ายดี ผมขอสรุปตามนี้เลยละกันนะครับ

สมการ Productive

Productivity = [ Useful Output / Time ] x Fun Factor
อธิบายง่ายๆ ก็คือ Output ที่ได้ ต้องมีคุณค่าตรงกับเป้าหมายที่เราตั้งไว้ เทียบกับเวลาที่เสียไป และต้องสนุกด้วย ไม่สนุก เราคงไม่อยากทำ

แผนภาพได้แก่

  • นักบิน คนกำหนดทิศทาง = เรา วางเป้าหมายว่าอะไรสำคัญในชีวิต มีบทบาท 10%
  • เครื่องบิน = Habit หรือนิสัย ระบบอัตโนมัติที่ตอบสนองต่อหลายๆ อย่างในชีวิต มีบทบาท 80%
  • วิศวกร = ระบบ การทำให้มั่นใจว่าสิ่งที่ทำอยู่ถูกต้องนะ มีบทบาท 5–10%
  • ยกตัวอย่างเช่น เราเป็นคนมีเป้าหมายอ่านหนังสือวันละ 100 หน้านะ แต่เวลาจะทำ เจอ Netflix ตอนใหม่ก็ขี้เกียจ แม้จะสร้างกฎกับเพื่อนแล้วว่าถ้าใครอ่านได้จะได้เงินไป แต่ก็ขี้เกียจอยู่ดี -> เคสนี้ นักบินอาจจะดี เครื่องบินอาจจะไม่แข็งแรงสักหน่อย แม้ว่าวิศวกรอาจจะวางระบบมาดีแล้ว
  • ไม่ค่อยชอบตัวเปรียบเทียบนี้เท่าไหร่ ไว้อนาคตคิดการเปรียบเทียบที่ดีกว่าได้จะมาแชร์กันนะครับ

ความสัมพันธ์ของสมการ และแผนภาพก็คือ

  • นักบิน เป็นคนกำหนดความ Useful เป้าหมายเราเป็นแบบไหน Route นี้จะไปทางใด
  • เครื่องบิน เป็นสิ่งทำให้เกิด Output ขึ้นมา
  • วิศวกร เป็นคนมั่นใจว่าเครื่องยนต์ใช้ได้ ตามเวลา (Time) ตามระบบที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความเข้าใจผิด 3 อย่าง

  • Time : เปลี่ยนความคิดว่าไม่มีเวลา -> เป็นเวลาอ่ะมี แต่เลือกไปใช้กับอะไร ใช้ถูกหรือเปล่า
  • Motivation : แรงกระตุ้นเป็นตัวกลาง ที่เชื่อมความคิด -> ทำให้เกิดแรงกระตุ้น -> แล้วลงมือทำ ดังนั้นสามารถสร้าง Motivation ได้โดยการ 1) เน้นให้เกิด Action ทำให้มันดึงดูดอยากทำ เช่น ออกกำลังกายน่าเบื่อ หาซีรีย์มาดู Podcast ที่ชอบมาฟังระหว่างออกกำลังกาย คราวนี้ก็จะไม่น่าเบื่อแล้ว 2) ทำให้เห็น Outcome เร็วๆ สมองเราชอบ Feedback Loop เช่น ตั้งเป้าให้ชัด ย่อยเป้าให้เล็ก แล้วทำให้สำเร็จ จากลด 20 โล เปลี่ยนเป็น สัปดาห์ละ 0.5 กิโล พอได้ เราก็ดีใจ และทำเป้าต่อไปได้ง่ายขึ้น
  • Multitasking : การสลับงานไปมา เปลืองพลังงาน แก้โดย 1) กำจัด Distraction ปิดโนติให้หมด ไม่ต้องรู้ทุกอย่างตลอดเวลาก็ได้ 2) ทำให้งานท้าทายและเกิด Flow State ให้ได้ แค่นี้เราก็จะโฟกัสได้แล้ว

กฎ 3 ข้อ

  • The Parkinson’s Law : เรายืดเวลาจนใกล้ Deadline ค่อยทำเสมอเป็นธรรมชาติ ดังนั้น ให้เราสร้าง Artificial Deadline หรือ Deadline ปลอมๆ ขึ้นมาเลย บอกตัวเองว่า งานนี้ส่งอีกสองวัน ทั้งที่จริง ส่งสัปดาห์หน้า เป็นการทำงานในหมวดสำคัญแต่ยังไม่ด่วน ถ้าทำได้ ใกล้ Deadline จะชิลมาก เชื่อสิ เราทำบ่อย
  • Pareto Principle : ที่หลายคนรู้จักในเลย 80:20 คือ สิ่งที่ทำ 20% ส่งผลต่อ output 80% ดังนั้น เวลาทำอะไร ดูสิว่า 20% นั้นอยู่ตรงไหน ทำตรงไหน แล้วไม่ต้อง Perfectionist เอา 80% กว่าๆ พอ
  • Newton’s first law of Motions : กฎข้อแรกนิวตัน ถ้าไม่มีอะไรมาทำ ของที่หยุดก็จะหยุด ของที่เคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่ต่อ ดังนั้นถ้าจะให้ความขี้เกียจ (หยุดทำอะไรสักอย่าง) ของเราหายไปแล้วลงมือทำอะไรสักอย่าง ให้หลอกสมองด้วยกฎ 2 mins ของ GTD ว่าอะไรที่ทำ 2 นาทีได้ ทำเลย ไม่ก็ 5 mins rules คือ อยากเริ่มทำไรใช่ไหม ลองทำเลย 5 นาที บอกตัวเอง พอทำไป 5 นาที จะลดแรงเสียดทานเดี๋ยวทำต่อได้เอง

พลัง 3 แบบ

  • Power of Habit : ทำวันละ 1% ปลายปีได้ผล 37 เท่า ดอกเบี้ยทบต้นนิสัยเราไปเรื่อยๆ และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะให้นิสัยเกิด เช่น หยุดเอามือถือเข้านอน ที่ตอนเช้าเราไถไป 30 นาทีกว่าจะลุก อีกเทคนิคที่สำคัญก็คือ เปลี่ยน identity เปลี่ยน why ของตัวเอง ให้ตัวเองเชื่อตามที่เราอยากเป็น เช่น อยากลดความอ้วน -> ฉันเป็นคนรักษาสุขภาพ ถ้าเราเชื่อว่ารักษาสุขภาพ ขนมมากองตรงหน้าก็ทำอะไรเราไม่ได้
  • Productive Downtime : หา Gap ของเวลาที่เรามีระหว่างวัน 5–10 นาทีที่เราไถ IG ไปทำเศษเสี้ยวของความฝัน อยากไปพ่อครัว ตอนนั่งส้วม ก็อ่านเมนูอาหาร อยากเป็น Youtuber เอาเวลานั้นมาเขียนสคลิปท์ (อันนึงส่วนตัวคิดว่าตึงไป แต่ถ้ามันทำให้ตรงกับเป้าหมายชีวิต บางคนคงสนุกมั้ง)
  • Power of Productive Procrastination : ผัดวันแบบ Productive ด้วยการสร้าง To-do list ความสนใจของตัวเองไว้ใกล้ตัว กำลังอยากเล่น Facebook ใช่มั้ย หันไปเจอหนังสือปลูกต้นไม้ งั้นอ่านอันนี้แทนดีกว่า คล้ายๆ Downtime แต่ใช้เวลาคนละก้อนกัน อันนี้ก้อนขี้เกียจ

Fun Factor

อย่าลืมว่าทุกอย่างจะเกิดยากถ้าไม่สนุก ดังนั้นเพิ่มความสนุกในทุก Step ด้วยการ Enjoy กับ Process เปลี่ยน Mindset จากสิ่งที่ต้องทำ เป็นสิ่งที่ได้รับให้ทำจากคำว่า Have to-> Get to และสร้างสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เอื้อให้ทำได้ง่ายๆ

ผมเรียนเสร็จก็พยายาม Map ว่า ความเข้าใจผิด 3 อย่าง กฎ 3 ข้อ และพลัง 3 แบบ ไปอยู่ตรงสมการและแผนภาพแรกอย่างไรได้บ้าง ก็พบว่าสามารถ map แต่ละแนวคิด ไปเชื่อมโยงกันได้ เช่น

  • นักบินกำหนดทิศทางได้ชัดเจนมากขึ้น เช่น การย่อย Goal ให้ง่ายและชัดเจน
  • เครื่องบิน ในส่วนของ Habit ที่ต้องทำให้ Output เกิดได้เยอะที่สุด เช่น การย่อยความฝัน สิ่งที่อยากทำมาเป็น To-do list วางใกล้ตัว ว่างก็ทำเลย หรือการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เราโฟกัส
  • วิศวกรผู้คุมเวลาให้คุ้มค่าที่สุด ก็มีตัวช่วยเยอะมาก ทั้งการกำหนด Artificial Deadline ขึ้นมา การใช้กฎ 2,5 mins อะไรทำได้ทำเลย ก็เป็นการช่วยให้ใช้เวลาได้คุ้มค่าสุด

2. Part แล้วนำไปใช้อย่างไรต่อดี

แน่นอนเวลาเจอแบบนี้

  1. Check Status : ปรับ mindset ด้วยสมการ Productive และลองสังเกตตัวเองว่า ณ ตอนที่รู้สึกว่ากำลังใช้เวลาเลื่อนลอย เราแตะตัวแปรไหนอยู่ เช่น เป้าไม่ชัดหรือเปล่า หรือใช้เวลาเท่าเดิม แต่ไม่ได้ Output เลย หรือเราใช้เวลาเยอะเกินไป หรืองานนี้มันไม่สนุกเลย แล้วถามตัวเองว่า Why ทำไม
  2. ปรับ Part นักบิน || Meaningful (ขอเปลี่ยนจาก Useful)
    – ทุกครั้งที่มีงานใหม่มา ทำ Goal ให้ชัด
    – หา 20% ของ Action ที่น่าจะทำให้ Goal Success
    – ย่อย Goal ให้เล็กๆ เห็น Feedback ไวๆ มีการอัพเลเวลของ Goal เป็นขั้นๆ
    – ดูว่าอะไรทำให้ Goal สนุก
    เขียนไป 3 ข้อก็เหมือน OKR , Sprint Process เลย ไม่เป็นไรใช้แบบไหนก็ได้ที่ถนัด
  3. ปรับ Part เครื่องบิน || Output
    – Habit เชิงบวก : ทำ Dream List 5–10 อย่างขึ้นมา ฝันว่าอะไร อยากจะทำ แบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ มาพกติดตัวไว้เป็นกระดาษ สมุดเล็กๆ ว่าง 2–5 นาที ก็ลองทำเลย ให้มัน Automatic และเขียน Identity ของตัวเองขึ้นใหม่มาทำให้เราเชื่อ
    – Habit เชิงลบ : ปิด Noti จริงๆ ก็ปิดอยู่แล้ว ทั้ง SMS Email App แต่บางครั้งโหลดแอพใหม่มาลืมปิด ชีวิตโล่งมาหลายปีแล้ว ถ้ารีบจริงๆ เดี๋ยวก็โทรมา
    – สิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิด Habit เชิงบวก และป้องกัน Habit เชิงลบ
  4. ปรับ Part วิศวกร || Time
    – เวลามีงานลอง สร้าง Artificial Deadline ขึ้นมาฝึกให้ส่งก่อน 2–3 วัน อันนี้ลองแล้วใช้พลังใจสูงมาก แต่ถ้าทำเสร็จจะโล่งมาก
    – ถามตัวเองเสมอว่านี่เรากำลังใช้เวลา เลือกทำอะไรอยู่

ตัวอย่างการใช้งาน

Check Status

ช่วงนี้ อยากถ่าย Video รีวิว Smarthome ในห้องแต่ขี้เกียจมาก เพราะมันมีขั้นตอนเยอะ ผมก็ยาว ไปตัดไม่ได้ ไม่มีเวลาเป็นชั่วโมงมาถ่ายด้วย งานลูกค้าเยอะช่วงนี้ จริงๆ ก็พอมีเวลาว่างนะ แต่บางทีก็ไปนั่งดู YouTube วันละ 1–2 ชั่วโมง

Part Meaningful

1) ย่อย Goal ชัดๆ ออกมา เป็น เราจะทำคลิปรีวิว Xiaomi ในห้องด้วยระยะเวลาสั้นๆ อย่างละ 10 วินาที ว่าแต่ละอัน Work มั้ย อันไหนไม่เวิร์คก็บอกเหตุผลสั้นๆ
– Research (ดูคลิปอื่นๆ ใน Youtube, เขียน Script การถ่าย, วาง Flow การถ่าย, หาเพลง)
– Production (ถ่าย 1 ชั่วโมง 1 วันที่ว่าง)
– Post-production (เอาคลิปมา Cleansing ก่อน, ตัดเรียง, ใส่ Effect)
– Publish (คิดแคปชั่น, ทำภาพประกอบ)

ในวงเล็บจะเป็น Goal เล็กๆ ที่เราจะเอาทำเป็น List ทิ้งไว้เราจะทำให้มันสนุก โดย Challenge ตัวเองให้ทำโดยไม่ได้เตรียมตัวถ่ายมาก่อน สดๆ เลย

Part Habit

1) เอากล้องกับไฟมาวางไว้ใกล้ๆ
2) หาสมุด ยาวๆ เขียน list แบบ to-do ลงไปเลย
3) ถ้าจะดู Netflix ดู YouTube ต้องทำ 1 ลิสต์ให้เสร็จ

Part Time

เราจะทำให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้ ปล่อยในวันจันทร์หน้า
เดี๋ยว 1 สัปดาห์จะมาอัพเดทว่าเอาแพลนนี้ไปใช้ มันง่ายขึ้นจริงหรือเปล่า

ถ้าใครรู้สึกว่าน่าสนใจ อย่าลองไปใช้ ไม่ต้องห่วง เราสรุปมาเป็น Canvas มาให้ สามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้เลย โดยกดที่ลิงค์นี้ https://bit.ly/2WQVWcL วิธีการใช้งานก็ง่ายมากคือ ถ้ามีเรื่องที่ต้องทำ หนึ่งเรื่องที่ยากพอสมควร ให้โหลดไฟล์นี้ไป ทางที่ดี ปริ๊นไว้ข้างๆ วางแผนให้เสร็จ แล้วลงมือทำเลย แต่ในฐานะที่มันเป็นเวอร์ชั่นเกือบ 1 ดังนั้นถ้าใครใช้ไปแล้วมี Feedback บอกผมมาได้เลย จะเอาไปปรับปรุงให้มันดีขึ้นเรื่อยๆ ครับ

อ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะสงสัยว่าคอร์สนี้ยังน่าเรียนหรือไม่ บอกเลยว่าในคลาส Ali จะมี Activity ให้ลองทำทุก Part เลย เรียกว่าได้ลองฝึกทำจริงกันแบบง่ายๆ (บางอันอาจจะยากหน่อย เพราะเป็นการทำกับใจตัวเอง) ซึ่งถ้าใครเรียนไปแล้วทำแบบฝึกหัดตาม เรียกว่าจบคอร์สนี้ได้ น่าจะได้แนวคิดใหม่ๆ ในแบบของตัวเองมาเยอะมาก

ถ้าใครสนใจ Skillshare สามารถสมัครจากลิงค์นี้ได้ https://skl.sh/3xBuxJi เราจะได้เรียนฟรี 1 เดือนไว้เรียนเพิ่ม และคนที่ใช้ก็จะได้ฟรี 1 เดือนเช่นกันตอนสมัคร และจะได้เอาคอร์สหน้ามาสรุปให้ฟังกันอีก

ถ้ามี Feedback อย่างไร คอมเม้นต์ไว้ได้เลยครับ

Ref : https://aliabdaal.com/about

--

--

Peesamac

Co-founder, Learning Designer and Thinking at BASE Playhouse. Empowering Young Generation with Future Skill and Tecnology.